พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ที่มา http://www.cowboythai.com/forum/index.php?topic=1443.msg9206;topicseen
สามารถ ดาวโหลดได้
เลี้ยงปลา
time
วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ประวัติส่วนตัว
(ประวัติส่วนตัว)Resume
ชื่อ: ชลันดา ปาระมี
Miss Chalanda paramee
เกิด: 2 ธันวาคม 2532
2 Desember 1989
ที่อยู่: 74 หมู่ 4 บ้านศรีอุบล ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย 42230
การศึกษา:
ระดับประถมศึกษา: โรงเรียนชุมชนวังสะพุง จ.เลย
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: โรงเรียนศรีสงครามวิทยา จ.เลย เกรดเฉลี่ย 3.24
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: โรงเรียนศรีสงครามวิทยา จ.เลย เกรดเฉลี่ย 3.14
ระดับปริญญาตรี: กำลังศึกษาอยู่ที่ คณะวิทยาศาสตร์
เอกคณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วิชาที่ชอบเรียน : คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา
สัตว์เลี้ยงแสนโปรด : ปลาทอง สุนัข นก
สีที่ชอบ : สีชมพู สีขาว สีฟ้า สีแดง สีเขียว
สถานที่ท่องเที่ยวที่ชอบ : ทะเล ยอดดอย สวนสัตว์ น้ำตก
กีฬา : วิ่ง ว่ายน้ำ ยิงธนู
อาหาร : ผัดไทย ส้มตำ
เวลาว่าง : ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นอินเตอร์เน็ต
สถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัดเลย : ภูกระดึง พระธาตุศรีสองรัก ภูเรือ ภูหลวง
สามารถ ดาว์โหลด ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ: ชลันดา ปาระมี
Miss Chalanda paramee
เกิด: 2 ธันวาคม 2532
2 Desember 1989
ที่อยู่: 74 หมู่ 4 บ้านศรีอุบล ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย 42230
การศึกษา:
ระดับประถมศึกษา: โรงเรียนชุมชนวังสะพุง จ.เลย
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: โรงเรียนศรีสงครามวิทยา จ.เลย เกรดเฉลี่ย 3.24
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: โรงเรียนศรีสงครามวิทยา จ.เลย เกรดเฉลี่ย 3.14
ระดับปริญญาตรี: กำลังศึกษาอยู่ที่ คณะวิทยาศาสตร์
เอกคณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วิชาที่ชอบเรียน : คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา
สัตว์เลี้ยงแสนโปรด : ปลาทอง สุนัข นก
สีที่ชอบ : สีชมพู สีขาว สีฟ้า สีแดง สีเขียว
สถานที่ท่องเที่ยวที่ชอบ : ทะเล ยอดดอย สวนสัตว์ น้ำตก
กีฬา : วิ่ง ว่ายน้ำ ยิงธนู
อาหาร : ผัดไทย ส้มตำ
เวลาว่าง : ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นอินเตอร์เน็ต
สถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัดเลย : ภูกระดึง พระธาตุศรีสองรัก ภูเรือ ภูหลวง
สามารถ ดาว์โหลด ข้อมูลส่วนตัว
วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ทดสอบการ upload file คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537
โดยก่อกำเนิดมาจากคณะวิทยาศาสตร์ ของวิทยาลัยการศึกษามหาสารคาม ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2511
ต่อมาในปี พ.ศ.2517วิทยาลัยการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
ดังนั้นวิทยาลัยการศึกษามหาสารคามจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนคริทร วิโรฒมหาสารคาม ในปีเดียวกัน
และได้พัฒนามาเป็นลำดับซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้
พ.ศ.2511 จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์มหาสารคาม และเปิดสอนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต
(กศ.บ.) วิชาเอกชีววิทยา วิชาโทเคมี
พ.ศ.2512 เปิดสอนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอกชีววิทยา วิชาโทเคมี และคณิตศาสตร์
พ.ศ.2513 เปิดสอนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอกชีววิทยา คณิตศาสตร์ และวิชาโทชีววิทยา,เคมี,คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์
พ.ศ.2516 เปิดสอนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอก และโทชีววิทยา เคมี คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์
พ.ศ.2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม” และคณะวิทยาศาสตร์ได้รับการจัดตั้งเป็นคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒมหาสารคาม โดยคณะวิทยาศาสตร์ได้ร่วมกับคณะการศึกษาศาสตร์ ผลิตบัณฑิตทางการศึกษาหลักสูตรการศึกษา บัณฑิตในสาขาวิชาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป
พ.ศ.2518 เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกคณิตศาสตร์
พ.ศ.2524 ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ผลิตบัณฑิตทางการศึกษา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์เกษตร ผลิตมหาบัณฑิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยา และหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตการมัธยมศึกษา สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
พ.ศ.2531 ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสถิติ
พ.ศ.2532 ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา และร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ ผลิตมหาบัณฑิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การศึกษา
พ.ศ.2534 ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเคมี
พ.ศ.2536 ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
พ.ศ.2537 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แยกการบริหารออกจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
พ.ศ.2538 ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
พ.ศ.2539 ตั้งภาควิชา และผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
พ.ศ.2541 ผลิตบัณฑิตระบบพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา เคมี วิทยาการคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
พ.ศ.2542 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต เพิ่มอีก 2 หลักสูตรได้แก่ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาฟิสิกส์ และย้ายที่ทำการของคณะวิทยาศาสตร์จากบ้านโนนศรีสวัสดิ์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มาที่ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และมีการปรับย้ายภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ไป สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์
พ.ศ.2543 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีศึกษา และชีววิทยาศึกษา
พ.ศ.2545 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
พ.ศ.2546 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
พ.ศ.2547 เปิดหลักสูตรปริญญาตรีรวม 6 หลักสูตร ปริญญาโท 4 หลักสูตร และปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี 3 หลักสูตร ได้แก่ สาขาเคมี สาขาชีววิทยา และสาขาสถิติ
พ.ศ.2548 คณะวิทยาศาสตร์มีโครงการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตจำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ สาขาฟิสิกส์ศึกษา, สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา, สาขาบรรพชีวินวิทยา และเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีววิทยา และสาขาบรรพชีวิน(หลักสูตรนานาชาติ)
สามารถ download คณะวิทยาศาสตร์
โดยก่อกำเนิดมาจากคณะวิทยาศาสตร์ ของวิทยาลัยการศึกษามหาสารคาม ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2511
ต่อมาในปี พ.ศ.2517วิทยาลัยการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
ดังนั้นวิทยาลัยการศึกษามหาสารคามจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนคริทร วิโรฒมหาสารคาม ในปีเดียวกัน
และได้พัฒนามาเป็นลำดับซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้
พ.ศ.2511 จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์มหาสารคาม และเปิดสอนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต
(กศ.บ.) วิชาเอกชีววิทยา วิชาโทเคมี
พ.ศ.2512 เปิดสอนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอกชีววิทยา วิชาโทเคมี และคณิตศาสตร์
พ.ศ.2513 เปิดสอนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอกชีววิทยา คณิตศาสตร์ และวิชาโทชีววิทยา,เคมี,คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์
พ.ศ.2516 เปิดสอนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอก และโทชีววิทยา เคมี คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์
พ.ศ.2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม” และคณะวิทยาศาสตร์ได้รับการจัดตั้งเป็นคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒมหาสารคาม โดยคณะวิทยาศาสตร์ได้ร่วมกับคณะการศึกษาศาสตร์ ผลิตบัณฑิตทางการศึกษาหลักสูตรการศึกษา บัณฑิตในสาขาวิชาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป
พ.ศ.2518 เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกคณิตศาสตร์
พ.ศ.2524 ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ผลิตบัณฑิตทางการศึกษา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์เกษตร ผลิตมหาบัณฑิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาชีววิทยา และหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตการมัธยมศึกษา สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
พ.ศ.2531 ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสถิติ
พ.ศ.2532 ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา และร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ ผลิตมหาบัณฑิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การศึกษา
พ.ศ.2534 ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเคมี
พ.ศ.2536 ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
พ.ศ.2537 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แยกการบริหารออกจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
พ.ศ.2538 ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
พ.ศ.2539 ตั้งภาควิชา และผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
พ.ศ.2541 ผลิตบัณฑิตระบบพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา เคมี วิทยาการคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
พ.ศ.2542 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต เพิ่มอีก 2 หลักสูตรได้แก่ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาฟิสิกส์ และย้ายที่ทำการของคณะวิทยาศาสตร์จากบ้านโนนศรีสวัสดิ์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มาที่ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และมีการปรับย้ายภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ไป สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์
พ.ศ.2543 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีศึกษา และชีววิทยาศึกษา
พ.ศ.2545 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
พ.ศ.2546 เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
พ.ศ.2547 เปิดหลักสูตรปริญญาตรีรวม 6 หลักสูตร ปริญญาโท 4 หลักสูตร และปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี 3 หลักสูตร ได้แก่ สาขาเคมี สาขาชีววิทยา และสาขาสถิติ
พ.ศ.2548 คณะวิทยาศาสตร์มีโครงการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตจำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ สาขาฟิสิกส์ศึกษา, สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา, สาขาบรรพชีวินวิทยา และเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีววิทยา และสาขาบรรพชีวิน(หลักสูตรนานาชาติ)
สามารถ download คณะวิทยาศาสตร์
วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
อาหารภาคเหนือ
อาหารภาคเหนือ (ขนมจีนน้ำเงี้ยว)
เครื่องปรุง
1.ซี่โครงหมูตัดเป็นชิ้น 1x1 นิ้ว (ต้มให้นุ่ม) 1/2 กิโลกรัม
2.เลือดหมูหั่นสี่เหลี่ยม 2x1 นิ้ว
1/2 กิโลกรัม
3.มะเขือเทศลูกเล็กผ่าครึ่ง
1/2 กิโลกรัม
4.เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ
5.น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
6.น้ำซุป (น้ำต้มกระดูกหมู กรองเอาเฉพาะน้ำ) 6 ถ้วย
เครื่องแกง
1.พริกแห้ง 7 เม็ด
2.รากผักชีหั่นฝอย 1 ช้อนชา
3.ข่าหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
4.ตะไคร้ซอย 2 ช้อนชา
5.กะปิ 2 ช้อนชา
6.หอมแดง 7 หัว
7.กระเทียม 3 หัว
เครื่องเคียง
ผักกาดดองหั่น ถั่วงอก ต้นหอม ผักชีซอย กระเทียมเจียว พริกทอด
วิธีทำ
1 โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด นำลงผัดในน้ำมันพืช พอหอม ใส่หมูสับ
2 เทลงในหม้อน้ำต้มกระดูกหมู ใส่ซี่โครงหมู แล้วใส่เลือดหมู และมะเขือเทศ
3 ปรุงรสด้วยเกลือ พอเดือดอีกครั้ง ยกลง เสร็จขั้นตอนทำน้ำเงี้ยว
4 จัดขนมจีนใส่จานพร้อมเครื่องเคียง ราดด้วยน้ำเงี้ยวที่ทำไว้
รับประทานกับแคบหมู ผักกาดดอง ถั่วงอก ต้นหอม ผักชี พริกทอด กระเทียมเจียว
อ้างอิง http://suppalak-am.blogspot.com/2008/02/blog-post_9690.htm
อาหารภาคเหนือ
อาหารภาคเหนือ (ไส้อั่ว)
เครื่องปรุง
1.หมูสันคอบดละเอียด 1 กิโลกรัม
2.ไส้หมู (ไส้เล็ก ล้างสะอาด) 1/3 กิโลกรัม
เครื่องแกง
1.พริกแห้ง 5 เม็ด
2.รากผักชี 2 ช้อนโต๊ะ
3.ผิวมะกรูดหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
4.ใบมะกรูดหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
5.ตะไคร้หั่นฝอย 3 ช้อนโต๊ะ
6.หอมแดง 5 หัว
7.กระเทียม 2 หัว
8.กะปิ 2 ช้อนชา
9.เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1 โขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด
2 ผสมเนื้อหมูที่บดไว้ กับเครื่องแกงให้เข้ากัน ใส่ใบมะกรูดเคล้าให้ทั่ว
3 บรรจุใส่ในไส่ อย่าให้แน่นนัก มัดเป็นท่อนๆ
4 นำไปทอดหรือปิ้งให้สุก อาจนำหมูที่ผสมแล้ว ปั้นเป็นก้อนแล้วทอด โดยไม่บรรจุในไส้ก็ได้
อ้างอิง http://suppalak-am.blogspot.com/2008/02/blog-post_8179.html
วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)